• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

รูปพระ

Started by Narada, March 04, 2023, 09:09:26 AM

Previous topic - Next topic

Narada

สืบเนื่องจาก "พระพุทธรูปอุลตร้าแมน" ที่กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในห้วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บทความนี้ให้ความสนใจต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการตอบสนองต่อการถกเถียงเรื่องนี้โดยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางวัตถุที่มีความสำคัญในวิถีชีวิตของชาวพุทธทั้งไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วทุกนิกาย คือ พระพุทธปฏิมาหรือพระพุทธรูป ผู้เขียนค้นคว้าเรื่องนี้และเขียนไว้เป็นส่วนหนึ่งของตำราที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนวิชาพุทธศาสนาในชีวิตคนไทย ในระดับปริญญาตรี อันที่จริงก็เป็นเพียงการศึกษาขั้นเบื้องต้นของผู้เขียนเท่านั้น แต่เมื่อเกิดการถกเถียงต่อต้านเกี่ยวกับงานศิลปะเกี่ยวพันหมิ่นเหม่ต่อศรัทธาที่มีต่อสัญลักษณ์ทางศาสนาของชาวไทย จึงอยากนำเรื่องนี้มาเสนอในประชาไท โดยให้ถือเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพื่อการศึกษาร่วมกันมากกว่าจะแสดงว่าผู้เขียนเป็นผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อเทียบกับนักประวัติศาสตร์ด้านพุทธศิลป์ของไทยผู้เขียนยังเป็นเพียงผู้เริ่มต้นศึกษาเท่านั้น บทความชุดนี้ออกเป็น 4 ตอน ภายใต้หัวข้อใหญ่คือ "พระพุทธปฏิมา : จากองค์ประธานของเรื่องเล่าถึงหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์" ในที่ขอบคุณประชาไทที่อนุญาตให้นำเรื่องนี้มาตีพิมพ์ในที่นี้ด้วยโดยสาระหลัก บทความนี้จะพาผู้อ่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางวัตถุของพุทธศาสนาในชีวิตของชาวพุทธไทย ในเบื้องต้นจะเป็นการปูพื้นความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธรูปหรือพระพุทธปฏิมาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนจะมีพระพุทธรูป คำถามหลักในบทความชุดนี้คือ พระพุทธรูปมีสถานะ บทบาท และนัยสำคัญอย่างไรในวิถีชีวิตของชาวพุทธไทย เป็นเครื่องมือสื่อสารธรรม เป็นรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นเพียงวัตถุแห่งการค้า พระพุทธรูปมีความหมายอย่างไรเมื่อถูกสร้างขึ้นและนำไปประดิษฐานไว้ภายในสถานที่สำคัญ เช่น ในโบสถ์ วิหาร ลานพระเจดีย์ เป็นต้น ในบทสุดท้ายจะพูดถึงการท้าทายจารีตประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธรูปในสังคมไทยของพุทธทาสภิกขุ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง "พระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้า" หรือ "พระพุทธเจ้าบังพระธรรม" ซึ่งนำไปสู่การปฏิเสธคุณค่าหรือความหมายของพระพุทธรูปตามจารีตของชาวพุทธ หวังว่าทั้งหมดนี้ จะช่วยให้เราได้เห็นคุณค่า ความหมายและบทบาทของพระพุทธรูปอันแตกต่างหลากหลายในสังคมไทย รวมทั้งคติความเชื่อและมุมมองต่างๆ ที่มีเกี่ยวกับพระพุทธรูปของชาวพุทธไทยด้วย
 ในที่นี้ผู้เขียนประสงค์จะแสดงให้เห็นว่า พระพุทธรูปเกิดขึ้นจากการเล่าพุทธประวัติและความต้องการที่จะมีองค์ประธานของเรื่องเล่าที่ชัดเจนขึ้น หมายความว่า พระพุทธรูปเกิดจากการศึกษาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าและความปรารถนาที่จะมองเห็นพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในโลกของตำนานและจินตนาการของคนอินเดียยุคหลังพุทธกาล เมื่อเรื่องเล่าพุทธประวัติแบบมุขปาฐะถูกเล่าผ่านภาพหินสลัก พื้นที่ว่างในเรื่องเล่าบนภาพหินจำหลักจึงถูกเติมเต็มด้วยพุทธปฏิมาแบบที่เราถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนปัจจุบันในสมัยแรกๆ เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าจะแสดงออกเป็นรูปธรรมผ่านภาพหินสลัก ซึ่งการศึกษาพบว่า การเล่าเรื่องราวเกี่ยวพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในสมัยหลังพุทธกาล ราวพุทธศตวรรษที่ 3 - 6 ที่แสดงผ่านงานศิลปะอินเดียโบราณ (สมัยที่ 1) ยังนิยมแทนรูปของพระพุทธเจ้าด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สถูป บัลลังก์เปล่า เสาไฟ เป็นต้น ส่วนการใช้พระพุทธรูปเป็นภาพแทนในการเล่าเรื่องของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นครั้งแรกในศิลปะอินเดียสมัยที่ 2 (ศิลปะคันธาระ ศิลปะมถุรา และศิลปะอมราวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 - 10) แต่ระหว่างศิลปะคันธาระกับศิลปะมถุรา ศิลปะใดที่ประดิษฐ์พระพุทธรูปขึ้นก่อนนั้นยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่  แคว้นคันธาระตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย อยู่ใกล้ช่องเขาไคเบอร์ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ใช้เป็นเส้นทางบุกรุกอินเดีย วัฒนธรรมกรีก – โรมันจึงเข้ามาปูพื้นฐานก่อนการสร้างพระพุทธรูปที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์กุษาณะ ชนชาติซิเถียนซึ่งเป็นเผ่าร่อนเร่บนหลังม้า อพยพจากเอเชียกลางเข้ามายังพื้นที่ดังกล่าวและสถาปนาราชวงศ์กุษาณะขึ้น แผ่ขยายอำนาจครอบครองทั้งแคว้นคันธาระและอุตตรประเทศ ราชวงศ์นี้นำวัฒนธรรมกรีก - โรมันมาผสมผสานกับวัฒนธรรมเอเชียกลางของตน สันนิษฐานกันว่าพระเจ้ากนิษกะอาจเป็นกษัตริย์พระองค์แรกๆ ที่อุปถัมภ์การสร้างพระพุทธรูป มีหลักฐานสำคัญคือด้านหลังเหรียญของพระองค์ปรากฏพระพุทธรูปที่มีจารึกว่า BUDDO (พุทโธ)  หลักฐานทางโบราณคดีชี้ว่า พระพุทธรูปหรือการบูชาพระพุทธรูปของชาวพุทธไม่ได้มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของประวัติศาสตร์พุทธศาสนาแต่เริ่มต้นด้วยอิทธิพลของกรีก-โรมัน ข้อนี้ขัดแย้งกับตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปที่มีการเล่าขานต่อกันมาตั้งแต่สมัยพระถังซ่ำจั๋งเดินทางไปอินเดียแล้วดังนั้น หากมองเรื่องการสร้างพระพุทธรูปผ่านตำนานเกี่ยวกับพระพุทธรูปในประเทศต่างๆ จะพบคติที่ว่าพระพุทธรูปเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตำนาน "พระแก่นจันทน์" อันเป็นข้อมูลในวรรณกรรมเก่าแก่ของอินเดียและลังกา กล่าวว่าเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์เป็นเวลา 1 พรรษา พระเจ้าปัสเสนทิโกศล (ประเสนชิต) ทรงรำลึกถึงพระพุทธเจ้า จึงสั่งให้นายช่างทำพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แดงขึ้นเพื่อสักการบูชาโดยประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และเสด็จมายังที่ประทับในพระราชวัง ด้วยอานุภาพของพระองค์ พระพุทธรูปแก่นจันทน์จึงเคลื่อนย้ายจากที่ประทับของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นดังนั้นจึงตรัสห้าม พระพุทธรูปแก่นจันทน์จึงเคลื่อนกลับไปประทับ ณ ที่เดิม ตำนานของศรีลังกาและอินเดียกล่าวว่าพระพุทธเจ้าตรัสให้รักษาพระพุทธรูปนั้นไว้เพื่อให้สาธุชนใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระพุทธรูปหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว ตำนานนี้สอดคล้องกับจดหมายเหตุบันทึกเรื่องประเทศทางภาคตะวันตกของพระสมณะเสวียนจั้งที่เล่าว่าพระเจ้าอุเทน (พระเจ้าอุทยัน) แห่งนครโกสัมพีโปรดให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้จันทน์องค์หนึ่งขณะเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาบนชั้นดาวดึงส์ เนื่องจากพระองค์ทรงรำลึกถึงพระพุทธเจ้ายิ่งนัก จึงขอให้พระโมคคัลลานะพานายช่างหลวงขึ้นไปจำลองรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้ามาสร้างเป็นพระพุทธรูป  "ตำนานพระแก่นจันทน์" ของวัดทรายมูล ต.ทรายมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อันเป็นสำนวนที่แพร่หลายในประเทศไทย เล่าเรื่องการสร้างพระพุทธรูปของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล โดยระบุว่าทรงให้ราชทูตไปนำไม้แก่นจันทน์จากพระยาสุวรรณพรหมาแล้วให้ช่างแกะสลักพระพุทธรูปสูง 6 องคุลี หน้าตักกว้าง 20 ศอก บ่ากว้าง 26 องคุลีกับนิ้วครึ่ง พระแก่นจันทน์องค์นั้นมีน้ำหนักถึง 6,000 ชั่ง  ในพระไตรปิฎก ไม่มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปดังในตำนาน แต่มหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวถึงการสักการะสถานที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า 4 แห่ง พระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายจากที่ต่างๆ เดินทางมาพบพระพุทธองค์ พวกเขาย่อมได้พบ ได้ใกล้ชิดพระพุทธองค์และย่อมเบิกบานใจ แต่เมื่อพระองค์ล่วงลับไป พวกข้าพระองค์ทั้งหลายก็จะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดกับพระองค์อีก พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "มีสถานที่ 4 แห่งที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา (ประสงค์จะเห็นพระพุทธเจ้า) ควรไปดู คือสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรม และสถานที่ดับขันธปรินิพพาน อนึ่ง ชนเหล่าใดจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสตายไปก็จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์" ความในมหาปรินิพพานสูตรไม่ได้กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพเพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าหลังจากที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว มีแต่เรื่องราวการสร้างสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระมหาธาตุของพระพุทธเจ้าไว้สักการะ 9 แห่ง ได้แก่ กรุงราชคฤห์ กรุงเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลกัปปะ เมืองรามคาม เมืองเวฏฐทีปกะ เมืองปาวา เมืองกุสินารา และเมืองปิปผลิวัน ซึ่งปรากฏอยู่ในช่วงท้ายของมหาปรินิพพานสูตร สรุปว่า การสร้างรูปเคารพเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าก็ยังไม่ปรากฏในช่วงเวลา 1 - 300 ปีหลังพุทธกาล พระพุทธประวัติของไทยที่แต่งอิงปฐมสมโพธิกถาของลังกาได้เล่าเรื่องราวบางอย่างไว้น่าสนใจซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นจิตสำนึกแรกๆ ของชาวพุทธที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของพระพุทธรูป หนังสือ "พระปฐมสมโพธิกถา" ได้เล่าเรื่องการขุดค้นหาพระธาตุของพระพุทธเจ้าในเมืองต่างๆ มารวบรวมไว้ที่เมืองปาฏลีบุตรแล้วทำการบูชาอย่างยิ่งใหญ่โดยพระเจ้าอโศกมหาราช (มีพระชนม์ชีพอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 3 – 4) ขณะเมื่อเฉลิมฉลองบูชาพระธาตุนั้น มีพระยามารลงมาจากสวรรค์เพื่อทำลายพิธี แต่พระอุปคุตเถระได้ทำหน้าที่อารักขาจนสามารถปราบพระยามารให้สิ้นพยศได้ เมื่อพระอุปคุตรู้ว่าพระยามารเคยเห็นพระพุทธเจ้า จึงขอให้พระยามารเนรมิตตนเองเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ "อนึ่ง รูปหลวงปู่ทิมท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดาบังเกิดในโลกเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่พระธรรมกาย บมิได้เห็นพระสรีรกาย ท่านจงอนุเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เราให้เห็นประจักษ์" เมื่อพระยามารเนรมิตกายเป็นพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งเหล่าพระสาวก พระอุปคุตและชาวเมือง (รวมทั้งพระเจ้าอโศกมหาราช) เห็นรูปลักษณ์ดังกล่าวจึงก้มกราบพระพุทธเจ้าจำแลง พระยามารตกใจถามว่าเหตุใดพระเถระจึงทำเช่นนั้น ท่านได้สัญญาแล้วมิใช่หรือว่าจะไม่ถวายนมัสการข้าพเจ้า พระอุปคุตจึงตอบว่า "อาตมาบมิได้นมัสการซึ่งท่าน กระทำอภิวันทนาการสรีรรูปพระบรมครูกับทั้งพระสาวกทั้งปวง" ตำนานนี้น่าสนใจตรงที่ได้ให้นัยว่าการกราบไว้พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่ทำได้หรือยอมรับได้สำหรับชาวพุทธ คำพูดของพระอุปคุตสะท้อนการยอมรับดังกล่าว พระพุทธนฤมิตซึ่งแท้จริงคือรูปกายของพระยามาร พระพุทธนฤมิตเป็นเพียงมายาภาพ แต่พระอุปคุตเถระก็ยังกราบไหว้พระพุทธนฤมิตดังกล่าว พร้อมทั้งอธิบายว่าเมื่อกราบนมัสการนั้น ท่าน (พระอุปคุต) ไม่ได้มีจิตมุ่งหมายจะนมัสการรูปร่างของมาร แต่มีใจมุ่งจดจ่อที่พระพุทธนฤมิต ไม่สำคัญว่าสิ่งที่ปรากฏเบื้องหน้าเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงหรือไม่ เจตนาของผู้กราบไหว้ขณะกระทำการนมัสการนั้นต่างหากที่สำคัญ นอกจากนี้ เรื่องนี้ยังทำให้ทราบเหตุการณ์ก่อนการเกิดขึ้นของพระพุทธรูปในอินเดียอีกด้วย เนื่องจากยังไม่มีการจารึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระสาวกถูกถ่ายทอดต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งผ่านคำบอกเล่า วิธีเล่าแบบหนึ่งคือสร้างเป็นภาพจำหลักหินในสถานที่สำคัญ ดังในบันทึกของสมณะเสวียนจั้งได้กล่าวถึงสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชว่า ส่วนบนองค์สถูปสร้างเป็นฐานสี่เหลี่ยมคล้ายจะให้เป็นบัลลังก์ แล้วสร้างเป็นฉัตรปักไว้บนบัลลังก์นั้นอีกต่อหนึ่ง รอบพระสถูปมีบริเวณก็ให้ทำเป็นรั้วเขตล้อมรอบและสลักศิลาเป็นรูปเรื่องพุทธประวัติหรือเรื่องราวในชาดก ภาพจำหลักนั้นงดงามมาก แต่ภาพพระพุทธประวัติที่ว่านั้นมิได้ปรากฏว่ามีภาพพระพุทธรูปอยู่เลย นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาวอารยันในสมัยโบราณไม่นิยมการสร้างรูปเคารพ ชาวอารยันคิดจะมาสร้างรูปเคารพขึ้นก็ภายหลังติดต่อถ่ายเทอารยธรรมกับพวกกรีกแล้ว สมัยพระเจ้าอโศกแม้จะมีการติดต่อกับชาวกรีก แต่ยังไม่มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ภาพพุทธประวัติจึงไม่มีรูปพระพุทธเจ้า แต่ใช้สัญลักษณ์บางอย่างแทน เช่น (1) ภาพประสูติ จำหลักเป็นภาพพระนางสิริมหามายาทรงยืนเหนี่ยวกิ่งต้นสาละ ไม่มีรูปพระกุมาร (2) ภาพออกมหาภิเนษกรมณ์ จำหลักเป็นภาพม้ากัณฐกะผูกเป็นเครื่องอานเปล่า (3) ภาพตรัสรู้ จำหลักเป็นต้นศรีมหาโพธิ ภาพใต้มีวชิรบัลลังก์อาสน์ตั้งอยู่เปล่าๆ มีรูปพญามารผจญและนางธรณีปรากฏอยู่ บางภาพก็ไม่มี (4) ภาพแสดงปฐมเทศนา จำหลักเป็นภาพวงล้อมธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอยู่ข้างๆ (5) ภาพดับขันธปรินิพพาน จำหลักเป็นภาพอาสนะเปล่าระหว่างต้นสาละ มีรูปพระสาวกประกอบหรือบางทีทำเป็นรูปพระแท่น ในพระไตรปิฎก มีคำบรรยายเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของมหาบุรุษผู้ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หรือไม่ก็อาจได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่เหนือดินแดนที่มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต เราอาจเรียกคำบรรยายดังกล่าวนี้ว่าเป็นการวาดรูปร่างในเชิงอุดมคติของพระพุทธเจ้าขึ้นมา ในพระสูตรบางเรื่อง เช่น มหาปทานสูตร ได้มีการวาดภาพของพระพุทธเจ้าในอดีตคือพระวิปัสสีพุทธเจ้าผ่านพระดำรัสของพระโคดมพุทธเจ้าอีกทีหนึ่ง  ในขณะที่ลักขณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสบรรยายถึงรูปลักษณ์ของพระองค์เองว่ามีลักษณะต่างๆ อย่างไร และพระองค์ได้ลักษณะดังกล่าวมาด้วยอานิสงส์ของการบำเพ็ญกุศลกรรมเรื่องใด เช่น ในอดีตชาติตรัสแต่เรื่องที่ให้คนสามัคคีกลมเกลียวกันไม่แตกแยกกัน พระองค์จึงมีพระทนต์ 40 ซี่และเรียงกันเรียบสนิทดี การที่พระองค์ไม่กล่าวคำหยาบรุนแรงในอดีตชาติทำให้มีพระชิวหาใหญ่และมีเสียงดุจพรหม เป็นต้น รูปลักษณ์ทางกายภาพของพระพุทธเจ้าจึงเป็นรูปลักษณ์ของผู้มีบุญบารมี เป็นอานิสงส์จากคุณธรรมและบทบาททางจริยธรรมที่ทรงบำเพ็ญในอดีตชาติ
 ขณะที่บางพระสูตรกล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของพระพุทธเจ้าว่ามีความสำคัญอย่างไร เช่น ลักษณะ 32 ประการของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาเข้าเฝ้าหรือเฝ้าติดตามด้วยความเลื่อมใส ภาพลักษณะภายนอกจึงเป็นเครื่องมือสร้างศรัทธาหรือการยอมรับในเบื้องต้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญแก่ลักษณะของบุคคลสำคัญตามจารีตนิยมของสังคม หรือเชื่อถือคัมภีร์ทางโหราศาสตร์ คำเล่าลือเกี่ยวกับลักษณะรูปร่างของพระพุทธเจ้าดึงดูดความสนใจเสมอแม้ในกลุ่มพระสาวกของพระองค์เองบางพระสูตร เช่น ในวักกลิสูตร เมื่อพระวักกลิอาพาธหนัก พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยมถึงที่พัก พระวักกลิจึงทูลให้ทราบถึงความปรารถนาของตนที่อยากไปเห็นพระพุทธเจ้าแต่ไม่สามารถเดินทางไปได้เพราะอาพาธหนัก พระองค์ตรัสว่าไม่มีประโยชน์อันใดในการเห็นร่างกายอันเปื่อยเน่านี้ "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม"  ถือตามความในพระสูตรนี้ ร่างกายของพระพุทธเจ้ามีความหมายเดียวกันกับธรรมอันเป็นนามธรรม การเห็นรูปร่างของพุทธะกับการเห็นธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเท่ากับการเห็นอีกอย่างหนึ่ง อรรถกถาธรรมบทเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระวักกลิแตกต่างจากพระไตรปิฎก แต่ก็มีสาระตรงกันที่แสดงให้เห็นว่าการพบเห็นพระพุทธเจ้ามีบทบาทสำคัญต่อการบรรลุธรรมของพระวักกลิรูปหลวงปู่โต๊ะพระพุทธดำรัสกับพระวักกลิกลายเป็นคำนิยามสำคัญเกี่ยวกับท่าทีของพุทธศาสนาที่มีต่อรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ทำนองว่า การเป็นชาวพุทธที่แท้ไม่ไหว้พระพุทธรูป เพราะการกราบไหว้รูปเคารพแสดงถึงการไม่เข้าใจสัจธรรม นอกจากนี้ พระพุทธดำรัสสุดท้าย (ปัจฉิมโอวาท) ของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน ที่ตรัสให้สาวกยึดถือ "พระธรรมวินัย" เป็นศาสดา ถูกอ้างมาเพื่อสนับสนุนท่าทีที่ปฏิเสธการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าในยุคเริ่มแรก แต่พุทธทาสภิกขุอธิบายว่า ธรรมเนียมการไม่สร้างรูปเคารพขึ้นเพื่อบูชาในเหล่าพุทธศาสนิกชนยุคเริ่มแรกหลังพุทธกาลนั้นมาจากสาเหตุทางวัฒนธรรมของชาวฮินดูในยุคพุทธกาลมากกว่าจะมาจากอิทธิพลของคำสอนในวักกลิสูตรโดยตรง การไม่ยอมทำรูปเคารพหรือภาพพระพุทธเจ้าในเรื่องเล่าพุทธประวัติมีสาเหตุมาจากคนสมัยอุปนิษัทมีวัฒนธรรมทางจิตใจหรือทางศาสนาสูงถึงขนาดที่ประณามรูปเคารพ ไม่บูชารูปเคารพในลักษณะของคนเขลาและคนขลาดทั้งในหมู่พุทธศาสนิกชนและศาสนิกอื่นๆ ในยุคอุปนิษัทของอินเดีย คนรู้จักค้นหาสิ่งนามธรรมและมีความสูงส่งในแง่จิตวิญญาณกันทั่วไป คำสอนของพระพุทธเจ้ามีเนื้อหาสาระอยู่ที่การบังคับตัวเองหรือการตัดกิเลส พระองค์ทรงขอให้สาวกทุกคนมองหา "ผู้นำ" ในตัวธรรมและมองตนเองในฐานะเป็นสรณะที่พึ่ง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีรูปเคารพอื่นใดเป็นที่พึ่งหรือไว้สำหรับกราบไหว้บูชา ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ การไม่สร้างรูปเคารพหรือการไม่แสดงรูปร่างอย่างมนุษย์ของพระพุทธเจ้าด้วยวัตถุใดๆ เป็นแต่ใช้สัญลักษณ์บางประการแทนนั้น แสดงถึงการมีจิตวิญญาณขั้นสูงทางศาสนธรรม การบูชากราบไหว้รูปเคารพของพระพุทธเจ้า สถานศักดิ์สิทธิ์หรือแม้กระทั่งการยึดมั่นในพระสรีรธาตุของพระพุทธเจ้าล้วนเป็นผลมาจากความขลาดเขลาและปรารถนาที่จะกราบไหว้พระพุทธเจ้าอย่างเป็นผู้ช่วยให้รอด ความไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร การทำพระพุทธรูปขึ้นเคารพบูชาจึงเป็นการถอยหลังเข้าคลองในทางธรรมหรือในทางจิตวิญญาณ นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่พระพุทธประวัติหินจำหลักไม่มีพระพุทธเจ้าโดยปกติ รูปหลวงพ่อพรมเมื่อเราเล่าเรื่องราวบางอย่าง องค์ประธานหรือตัวละครหลักของเรื่องเล่าจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่องเล่า มีตัวละครอื่นๆ หรือสิ่งอื่นๆ เป็นองค์ประกอบรายล้อมองค์ประธานของเรื่อง การเล่าพุทธประวัติด้วยภาพหินจำหลักแม้จะมีองค์ประธานของเรื่องเล่า แต่ไม่นิยมแสดงองค์ประธานคือภาพจำหลักพระพุทธเจ้าไว้ในเรื่องเล่า อันที่จริง ชาวอินเดียสมัยนั้นน่าจะรู้จักรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้าผ่านคำบรรยายมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการของพระพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในพระสูตร เป็นไปได้ว่า การถ่ายทอดรูปลักษณ์ของศาสดาลงบนวัตถุ (หินจำหลัก) ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดการรับรู้ผิดๆ เกี่ยวกับรูปกายของศาสดา หรืออาจก่อให้เกิดการยึดติดในรูปเคารพดังที่พุทธทาสภิกขุอธิบายไว้ ดังนั้นจึงปล่อยพื้นที่ว่างไว้เพื่อให้ผู้อ่านภาพจำหลักได้จินตนาการเอง แต่การจินตนาการรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้าผ่านมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ ไม่ใช่จะทำได้ง่ายนัก เพราะลักษณะต่างๆ นั้นไม่เหมือนมนุษย์โดยทั่วไป การบรรยายในคัมภีร์เองก็อาจทำให้จินตนาการเกี่ยวกับรูปกายของพระพุทธเจ้าของแต่ละคนแตกต่างกันไปหลังจากใช้สัญลักษณ์ต่างๆ แทนพระพุทธเจ้าในภาพสลักพุทธประวัติมาชั่วระยะหนึ่ง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดียได้ส่งผลให้เกิดการสร้างรูปจำลองของพระพุทธเจ้าขึ้นมา ในประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย พระพุทธรูปเกิดขึ้นในยุคที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนาเริ่มพัฒนาเป็นมหายาน คือราวพุทธศตวรรษที่ 6 และพุทธศาสนานิกายเถรวาทดั้งเดิมเสื่อมความนิยมในภาคกลางของอินเดีย ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ประเทศศรีลังกาแล้ว รูปหลวงพ่อกวยมีการสังคายนาและจารึกพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นลายลักษณ์อักษร พุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทินเจริญรุ่งเรืองขึ้นในทางภาคเหนือของอินเดียและได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้ากนิษกะที่ 2 เกิดศิลปะคันธาระและมถุราขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันคือระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 - 9 นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าอาจเป็นไปได้ที่พระพุทธรูปในศิลปะคันธาระเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะอินเดีย อันเนื่องมาจากการพบว่าด้านหลังเหรียญตราของพระเจ้ากนิษกะมีพระพุทธรูปปรากฏอยู่ ส่วนนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าศิลปะมถุราน่าจะเป็นศิลปะแรกที่ประดิษฐ์พระพุทธรูปเนื่องจากมุทราและระบบประมานวิทยาของพระพุทธรูปแบบมถุรามีลักษณะ "เก่า" กว่าพระพุทธรูปศิลปะคันธาระมาก ที่ว่า "เก่า" นั้นคือ พระพุทธรูปในศิลปะมถุรานิยมแสดงอภัยมุทรา (ประทานอภัย) เพียงมุทราเดียว ทั้งไม่ปรากฏอิทธิพลกรีก-โรมันเลยแต่มีความเป็นพื้นเมืองสูง ทำให้นึกถึงประติมานกรรมยักษ์ในศิลปะอินเดียโบราณมากกว่าหนังสือ ประวัติพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้พิทูร มลิวัลย์ และไสว มาลาทอง เรียบเรียงขึ้น เขียนเป็นข้อสันนิษฐานไว้ว่า การจะสร้างพระพุทธรูปขึ้นทีแรกนั้นน่าจะเป็นพระราชดำริของพระมหากษัตริย์แล้วให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต กับพวกนายช่างประชุมปรึกษาหารือกันว่าควรจะทำอย่างไร และพวกที่ปรึกษากันนั้นก็เคยมีความรู้สึกว่าเป็นการยากมิใช่น้อย เนื่องจากต้องคำนึงข้อสำคัญ 2 ประการ คือ การสร้างพระพุทธรูปนั้นต้องคิดให้แปลกกับรูปภาพคนอื่นๆ โดยให้รู้ทันทีว่าเป็นรูปพระพุทธเจ้า และพระพุทธรูปต้องให้มีลักษณะงดงาม เป็นที่ชอบใจเลื่อมใสของคนทั้งหลายที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา ขณะที่พวกช่างพากันคิดรูปแบบของพระพุทธรูปนั้น พระพุทธเจ้าก็ปรินิพพานไปหลายร้อยปีแล้ว รูปพรรณสัณฐานของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครเคยพบเห็น มีแต่คำบอกเล่ากันสืบมา ยิ่งกว่านั้นยังมีตำนานกล่าวถึงพระพุทธลักษณะไว้ในคัมภีร์มหาปุริสลักษณะของพราหมณ์ที่เขียนไว้ก่อนพุทธกาล ช่างผู้ทำพระพุทธรูปก็ต้องอาศัยคำบอกเล่าและความรู้ทางพุทธประวัติ บวกกับแบบอย่างจากจารีตประเพณีของชาวมัชฌิมประเทศ (ภาคกลางของอินเดียสมัยโบราณ) เกี่ยวกับแบบอย่างของการนั่ง การครองจีวรของภิกษุที่มีอยู่ในสมัยนั้น และคตินิยมทางสุนทรียศาสตร์ในกระบวนช่างของชาวกรีก (โยนก) เป็นหลักคิดเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปขึ้นทั้งๆ ที่โดยทั่วไปแล้ว ก็รู้อยู่ว่าไม่เหมือนองค์พระพุทธเจ้ารูปวาดพระ แต่ก็สามารถทำให้คนทั้งหลายนับถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้ จึงนับว่าผู้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมานั้นเป็นผู้ที่ฉลาดอย่างยิ่งกล่าวโดยสรุป พระพุทธรูปเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุหรืองานศิลปะที่เกิดจากจินตนาการของคนรุ่นหลังพุทธกาล สร้างขึ้นโดยอาศัยเรื่องเล่า (พุทธประวัติ) คำบรรยายหรือคติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธลักษณะ (ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ) และแนวคิดด้านสุนทรียศาสตร์ (ลักษณะความงามที่เห็นแล้วเกิดความเคารพเลื่อมใส) ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีจินตนาการและมีฝีมือประณีตเป็นผู้ถ่ายทอด หากเรายึดตามข้อสันนิษฐานที่ปรากฏในหนังสือของกรมการศาสนาที่กล่าวถึงนี้และยึดตำนานพระอุปคุต การสร้างพระพุทธรูปยุคแรกน่าจะมาจากความปรารถนาที่จะทำให้มโนทัศน์เกี่ยวกับรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้าชัดเจน พวกเขาอยากรู้ว่ามหาบุรุษที่เรียกว่าพระพุทธเจ้านั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไรมากกว่าจะมุ่งเน้นการใช้พระพุทธรูปเพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือเพื่อกราบไหว้บูชาดังกรณีตำนานพระแก่นจันทน์ ถ้าเราเปรียบพระยามารที่เนรมิตพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกให้พระอุปคุตได้ทัศนาเป็นเหมือนศิลปินผู้สร้างงานศิลป์ ศิลปินผู้นั้น (พระยามาร) ได้อาศัยความทรงจำเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่ตนเองเคยพบเป็นแบบในการสร้างงานพุทธศิลป์ขึ้นมา ส่วนพระอุปคุตและชาวพุทธในยุคนั้นรู้จักพระพุทธเจ้าผ่านเรื่องเล่าแต่ไม่มีจินตภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับพระพุทธองค์เพราะไม่เคยประสบพบเห็นด้วยตาตนเองมาก่อน มารได้เนรมิตรูปพระพุทธเจ้าขึ้นมาจากความทรงจำของตนเองเพื่อตอบสนองความปรารถนาของพระอุปคุตผู้ประสงค์จะเห็นรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้า โดยอาศัยการตีความจากตำนานดังกล่าวนี้ ผู้เขียนอยากเสนอความเห็นส่วนตัวว่า จุดมุ่งหมายของการเนรมิตรูปปั้นของพระพุทธเจ้า (พระพุทธปฏิมา) คือเพื่อจะได้เห็นพระลักษณะของพระพุทธเจ้าชัดเจนขึ้น ซึ่งการเห็นนั้นจะก่อให้เกิดศรัทธายิ่งขึ้นในศาสนาดังสำนึกที่แสดงออกผ่านตำนานเรื่องรูปพระ "พระพุทธรูปมารนฤมิตร"ที่กล่าวถึงแล้ว ผู้เขียนคิดว่า ก่อนจะมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาโดยชาวกรีกนั้น เรื่องของพระพุทธเจ้าถูกนำเสนอผ่านภาพหินจำหลักรอบพระสถูปมาก่อน เป็นการเล่าพุทธประวัติที่ไม่ปรากฏรูปองค์ของพระพุทธเจ้า ต่อมาจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้น การสร้างพระพุทธรูปนัยหนึ่งจึงเป็นการเติมช่องว่างทางจินตนาการเกี่ยวกับองค์ประธานของเรื่องเล่าพุทธประวัติ องค์ประธานของเรื่องเล่าที่เป็นเคยความว่างเปล่าได้ถูกสร้างขึ้นมาจากจินตนาการของศิลปินให้มีรูปลักษณะที่มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น จนกลายเป็นที่นิยมนับถือสืบต่อกันตราบเท่าปัจจุบันและสือเนื่องตลอดไป