• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

หลักสูตร การบริหารจัดการองค์กรด้วยระบบ ERP (Enterprise Resource Planning Management)

Started by fairya, April 11, 2024, 09:38:07 PM

Previous topic - Next topic

fairya

หลักสูตร การบริหารจัดการองค์กรด้วยระบบ ERP
(Enterprise Resource Planning Management) 18 เมษายน 2567
09.00-16.00 น.
ณ โรงแรมแรมแบรนท์ ซอยสุขุมวิท18-20 ใกล้ BTS อโศก กรุงเทพฯหลักการและเหตุผล
      ERP เป็น Software ที่ใช้ในการบริหารจัดการ (Manage) ได้ทั้งองค์กร โดยที่มีระบบฐานข้อมูลส่วนกลาง (Centralized Database System) ทำการจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถกระจายและแบ่งบัน (Share) ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และสามารถที่จะบูรณาการด้านข้อมูล (Data Integration) ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing, Manufacturing, Accounting, HR, Warehousing, Transportation และอื่น ๆ      Enterprise Resource Planning คือ การบริหารทรัพยากรขององค์กร ระบบการบริหารเพื่อวางแผนและจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั่วทั้งบริษัทของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยการเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจทุกขั้นตอน เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อมุ่งไปสู่ผลกำไรสูงสุดของบริษัท และที่สำคัญยังรวมถึงระบบการจัดการสินค้าคงคลังและควบคุมสินค้าคงคลัง ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนกและทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดเป็นการรวบรวมกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ตลอดจนเชื่อมโยงโปรแกรมประยุกต์ (Applications) ต่าง ๆ ของแต่ละส่วนงานเข้าเป็นระดับองค์กร (Enterprise) โดยมีข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพียงแห่งเดียว      การใช้ระบบ ERP ในการวางแผนจัดการผลิตจะสามารถควบคุมเวลาการผลิตและวัตถุดิบหรือสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณราคาต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง และสามารถบริหารจัดการแผนการผลิตที่เร่งด่วนได้ รวมถึงการวิเคราะห์การผลิตสินค้าที่ทำให้เกิดกำไรได้มากที่สุดหรือสินค้าที่ผลิตแล้วไม่คุ้มทุน เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการผลิตได้อย่างยั่งยืนวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP)2. สามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารงานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. มีความรู้และเข้าใจในการใช้ระบบ ERP เพื่อการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาการผลิตได้เป็นอย่างดี
4. สามารถประสานงานด้านข้อมูลภายในองค์กร เพื่อลดความผิดพลาด ความขัดแย้งกันในเรื่องของข้อมูล รวมถึงการสร้างความรวดเร็วในการใช้งานด้านข้อมูลร่วมกันได้อย่างราบรี่น
5. ทำให้ระบบสารสนเทศขององค์กรมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้อง ผ่านระบบเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือ6. สามารถนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดทำรายงานทั้งแบบ Online และ Offline เพื่อสร้างเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานธุรกิจได้อย่างยั่งยืนหัวข้อการอบรม
1.ERP เครื่องมือสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในยุด Industry 4.0
2.ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของระบบ ERP กับการพัฒนาองค์กร
3.Module ต่าง ๆ และความเชื่อมโยงในระบบ ERP
4.การเตรียมความพร้อมการใช้ระบบ ERP (ด้านบุคลากร, ด้านข้อมูลสารสนเทศ, ด้านเครื่องมือและเครือข่าย และอื่น ๆ)5.ระบบ ERP จะสามารถลดต้นทุนผลิตได้อย่างไร
6.การค้นหาความต้องการข้อมูลสารสนเทศในสถานประกอบการที่ต้องการใช้งานระบบ ERP
7.เลือกระบบ ERP อย่างไรให้เหมาะสมกับองค์กร
8. ความสำคัญของการบริหารจัดการผลิตด้วยระบบ ERP (Principle of ERP Production Management)
9.การเลือกซื้อซอฟต์แวร์ ERP สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
10.การวางแผนการผลิตด้วยระบบ ERP
11.การสร้างสูตรการผลิตสินค้าในระบบ ERP
12.ใบบันทึกผลิตในระบบ ERP
13.ระบบ ERP กับการจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลัง14.กลยุทธ์การทำ Lean ด้วยระบบ ERP สุดยอดยุทธวิธีการพัฒนาการดำเนินงานในทุกด้าน
15.การประเมินความสำเร็จของการใช้ระบบ ERP
16.กลยุทธ์การใช้งานระบบ ERP สำหรับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ERP Efficiency for Business Strategy)กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับสูงและกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารฝ่ายต่าง ๆ หัวหน้างานและพนักงาน ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายบุคคล วิศวกร
 รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ